• ซื้ออสังหา
  • เช่าอสังหา
  • โครงการใหม่
  • Holiday Rentals
  • ทางการค้า
  • ขาย/เช่าอสังหาริมทรัพย์
  • บทความ & ข่าว
  • Lazudi คือใคร
  • ร่วมเป็นตัวแทนกับเรา (Careers)
  • อสังหานานาชาติ
  • ลงชื่อเข้าใช้ (Dashboard)
  • การขยายตัวของระบบขนส่งมวลชนมีส่วนผลักดันราคาที่ดินในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลให้สูงขึ้น

    22 กุมภาพันธ์ 2566
    การขยายตัวของระบบขนส่งมวลชนมีส่วนผลักดันราคาที่ดินในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลให้สูงขึ้น

    การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าและทางด่วนในปัจจุบันส่งผลให้ราคาที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครพุ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินเปล่าในกรุงเทพฯ เติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563-2565 แม้ว่าจะมีผล
    กระทบจากวิกฤติการณ์โควิดก็ตาม

    ยกตัวอย่างเช่น ราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากการสร้างทางด่วนใหม่ พระราม 2 - บางบอน ปิ่นเกล้า - ราชพฤกษ์ รัตนาธิเบศร์ - ชัยพฤกษ์ และสุขสวัสดิ์ - ประชาอุทิศ เป็นพื้นที่ที่มีการปรับขึ้นราคาสูงที่สุดในกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก สำหรับกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก พบว่าที่ดินที่ราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดอยู่ที่ช่วงรามคำแหง-อ่อนนุช จากการแข่งขันระหว่างนักพัฒนาอสังหาฯ ในพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้น

    ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เกี่ยวกับดัชนีราคาที่ดินเปล่าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่เพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

    ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์กล่าวไว้ว่า แม้ว่าราคาที่ดินเปล่ายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 14.8% แต่ก็ยังถือว่าต่ำกว่าในช่วงระยะเวลา 5 ปี ก่อนเกิดวิกฤติการณ์การระบาด  โดยปัจจัยเบื้องหลังคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากทั้งโรคโควิด-19และสงครามรัสเซีย-ยูเครน การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของรัฐบาลตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2565 ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่เกี่ยวข้องเช่นกัน

    นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีราคาที่ดินเปล่าเพิ่มขึ้นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2565 และเมืองนนทบุรี-ปากเกร็ด เมืองปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-สามโคก เป็นพื้นที่ที่มีราคาที่ดินเปล่าเพิ่มขึ้นสูงสุดในไตรมาสที่ 3  

    สำหรับราคาที่ดินเปล่าตามแนวรถไฟฟ้าที่มีอัตราการเติบโตของราคาที่ดินสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ได้แก่ รถไฟฟ้าสายหลัก สายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) และสายสีทอง (ธนบุรี-พระปกเกล้า) ตามลำดับ

    โดยสรุป
    การเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินเปล่า แสดงให้เห็นว่าราคาที่ดินในเขตกรุงเทพฯ รอบนอก มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ เนื่องจากความต้องการที่ดินเปล่ายังมีอยู่มาก เพราะที่ดินดังกล่าวเป็นที่ต้องการในการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบ ตรงกันข้ามราคาที่ดินในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ ที่มีราคาสูงอยู่แล้วกลับมีการปรับตัวขึ้นอย่างช้าๆ ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก

    สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวอสังหาฯ หรือหากคุณกำลังมองหาบ้านในฝัน ติดต่อลาซูดีได้แล้ววันนี้ ทีมงานของเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้บริการ

    ประเทศไทย บทความ ข่าวสาร การขยายตัวของระบบขนส่งมวลชนมีส่วนผลักดันราคาที่ดินในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลให้สูงขึ้น
    ติดต่อเรา

    ขอบคุณ
    ข้อความของคุณถูกส่งแล้ว

    โทรหาผู้ขาย
    +66 (0) 2 460 9389
    Please verify your email address

    Settings
    Currency
    Baht - THB ฿
    Australian Dollar - AUD $
    Danish Krone - DKK kr
    Euro - EUR €
    Hong Kong Dollar - HKD $
    Indonesian Rupiah - IDR Rp
    Indian Rupee - INR ₹
    Malaysian Ringgit - MYR RM
    New Israeli Shekel - ILS ₪
    New Zealand Dollar - NZD $
    Philippine Peso - PHP ₱
    Pound Sterling - GBP £
    Russian Ruble - RUB р.
    Saudi Riyal - SAR ر.س
    Singapore Dollar - SGD $
    Swedish Krona - SEK kr
    Swiss Franc - CHF ₣
    Taiwan Dollar - TWD $
    Turkish Lira - TRY ₤
    UAE Dirham - AED د.إ
    United States Dollar - USD $
    Yen - JPY ¥
    Yuan - CNY ¥
    Language
    ไทย - ไทย
    ไทย - English
    ประเทศอินโดนีเซีย - English
    ฟิลิปปินส์ - English
    ดูไบ - English
    ดูไบ - اَلْعَرَبِيَّةُ
    Measure Units
    Square Meters / Sqm
    Square Foot / Sq. Ft.
    Change Country
    Indonesia Property
    Philippines Property
    Dubai Property