Menu

  • ซื้ออสังหา
  • เช่าอสังหา
  • โครงการใหม่
  • Holiday Rentals
  • ทางการค้า
  • ขาย/เช่าอสังหาริมทรัพย์
  • บทความ & ข่าว
  • Lazudi คือใคร
  • ร่วมเป็นตัวแทนกับเรา (Careers)
  • อสังหานานาชาติ
  • ลงชื่อเข้าใช้ (Dashboard)

  • ขั้นตอนการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ

    11 กรกฎาคม 2566
    ขั้นตอนการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ

    คุณอยากจะย้ายไปกรุงเทพฯ ไหม นี่อาจจะเป็นโอกาสในการทำงานใหม่ที่น่าตื่นเต้นก็เป็นได้ หรือบางทีคุณอาจเลือกที่จะเกษียณอายุในเมืองหลวงในประเทศไทย ไม่ว่าเหตุผลของคุณคืออะไร กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ยอดเยี่ยมสำหรับการทำงาน การพักผ่อน รวมไปถึงการเที่ยวเล่นไปกับกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างดี

    การจัดแจงหาที่พักระยะสั้นให้แน่ใจก่อนเดินทางมาถึงจะช่วยขจัดความเครียดจากการย้ายที่อยู่และช่วยให้มีเวลาศึกษาปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้มากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่อาศัยระยะเวลาเพียงสองสามวันหรือสองสามเดือน การหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Air BNB, Booking.com ฯลฯ สามารถให้ความช่วยเหลือคุณได้ดีทีเดียว

    ในประเทศไทย ระยะเวลาการเช่าระยะยาวขั้นต่ำจะอยู่ที่ 12 เดือน ดังนั้นก่อนที่จะตกลงใจเลือกสถานที่ จงตัดสินใจว่าคุณต้องการอาศัยอยู่พื้นที่ไหน อะไรคือสิ่งอำนวยความสะดวกที่คุณต้องการ รวมถึงรูปแบบของที่พักก็เป็นสิ่งสำคัญมากเช่นกัน

    หากต้องการที่จะอาศัยอยู่ระยะยาวในประเทศไทยจะมีบางสิ่งที่คุณจำเป็นต้องมี ได้แก่ วีซ่าประเภทที่เหมาะสมกับคุณซึ่งอนุญาตให้คุณสามารถทำงาน เรียน หรือมาเกษียณอายุได้ บัญชีธนาคารในประเทศไทยสำหรับการโอนเงินจ่ายค่าเช่าที่พักและใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของคุณเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ธนาคารจะขอหลักฐานแสดงถิ่นที่อยู่ เช่น จดหมายจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อยืนยันที่อยู่หรือใบอนุญาตการทำงานของคุณ  

    และก่อนจะตัดสินในมาอยู่ ควรศึกษาข้อมูลเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ บล็อก และเว็บไซต์สำหรับชาวต่างชาติเพื่อทำความเข้าใจที่อยู่อาศัย ค่าเช่า ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ฯลฯ การพักอาศัยอยู่ในระยะที่เดินถึงสถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT นั้นถือว่าเหมาะสมที่สุด เนื่องจากการจราจรบนถนนในกรุงเทพฯ มักจะติดขัดและวุ่นวาย

    พื้นที่ที่ชาวต่างชาตินิยมมักจะอยู่ใกล้ระบบการคมนาคมที่สะดวก สถานที่ทำงาน แหล่งช้อปปิ้ง ร้านอาหาร หรืออาจอยู่ใกล้โรงเรียน บทความเกี่ยวกับถนนสุขุมวิท ฉบับนี้มีข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับย่านนี้ให้คุณได้ศึกษา นอกจากนี้ ย่านการเงินอย่างสีลมและสาทร ถนนเพลินจิตและถนนวิทยุ (มักเรียกว่า Wireless Road) และรัชดา-พระราม 9 ก็มีความน่าสนใจเช่นกัน

    การติดต่อเข้าใช้บริการกับตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ที่เชื่อถือได้เฉกเช่นทีมจากลาซูดีของเรา สามารถช่วยประหยัดเวลาและความปวดอกปวดใจในการหาที่อยู่ได้อย่างมาก บางคนออกสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อค้นหาป้าย 'ให้เช่า' แต่บางครั้งก็เจออุปสรรคด้านภาษา แม้แต่การเช่าออนไลน์โดยตรงกับเจ้าของก็เป็นทางเลือกเช่นกัน แต่ไม่แนะนำหากต้องการความชัดเจนและการปกป้องสัญญาเช่าที่จะไม่ทำให้คุณเสียเปรียบ

    ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ จะเลือกเช่าคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ อย่างไรก็ตาม บางครอบครัวหรือผู้ที่ต้องการพื้นที่เพิ่มอาจเลือกเช่าบ้านหรือทาวน์เฮาส์ คู่มือของเรา จะช่วยอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างประเภทของอสังหาริมทรัพย์

    ขั้นตอนในการเช่า

    มาดูขั้นตอนการเช่ากันทีละขั้นตอนดีกว่า

    ขั้นตอนที่ 1: การค้นหาอสังหาริมทรัพย์และการเข้าชม

    กำหนดรายละเอียดความต้องการของคุณ โดยครอบคลุมข้อมูลเช่น:

    • งบประมาณ;
    • ขนาดและจำนวนห้องที่ต้องการ;
    • ที่ตั้งและความสะดวกในการเดินทาง สถานที่ทำงาน ร้านค้า โรงเรียน และร้านอาหาร;
    • สิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางที่ต้องการ เช่น สระว่ายน้ำ ที่จอดรถ ฟิตเนส ฯลฯ
    • คอนโดที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงหากคุณนำสัตว์เลี้ยงมาด้วย
    • มีเฟอร์นิเจอร์หรือไม่มีเฟอร์นิเจอร์

    การค้นคว้าข้อมูลทางออนไลน์เพื่อระบุคุณสมบัติที่ตรงกับความต้องการของคุณ และคัดกรองคุณสมบัติที่คุณต้องการดู จะช่วยให้ความรู้แก่คุณเกี่ยวกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ เพียงเลือกเอเจนท์มีชื่อเสียง แจ้งให้พวกเขาทราบถึงความต้องการของคุณ แล้วพวกเขาจะช่วยคุณหาบ้านใหม่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

    ตรวจสอบคุณสมบัติที่ต้องการอย่างละเอียด โดยเทียบกับเกณฑ์ข้อกำหนดของคุณ อย่าปล่อยให้ 'องค์ประกอบที่สวยงามแต่ไม่จำเป็น' มาบดบังการตัดสินใจของคุณ หากคุณรักการทำอาหาร ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีครัวและเครื่องใช้ที่เหมาะสม หรือพิจารณาความใกล้ชิดกับสวนสาธารณะและสวนต่างๆ หากคุณชื่นชอบและต้องการพื้นที่กลางแจ้ง

    ขั้นตอนที่ 2: ข้อเสนอและการเจรจาต่อรอง

    ในแง่ของการเจรจาต่อรองในกรุงเทพฯ นั้น มักมี 'ช่องว่างให้ต่อรองได้' เล็กน้อยเสมอ โดยหัวข้อต่างๆ เช่น อัตราค่าเช่ารายเดือน ระยะเวลาของสัญญา วันที่ย้ายเข้า และเฟอร์นิเจอร์มักจะเป็นประเด็นหลักในการเจรจาต่อรอง การเสนอระยะเวลาการเช่าที่ขยายออกไปอาจได้รับอัตราค่าเช่ารายเดือนที่ต่ำกว่า

    ทำข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรโดยสรุปข้อเสนอของคุณอย่างชัดเจน รวมถึงอัตราค่าเช่าที่ต้องการ วันที่เซ็นสัญญาเช่า วันที่ย้ายเข้า ระยะเวลาเช่า และประเด็นอื่นๆ หากคุณต้องการซ่อมแซม ทาสี ทำความสะอาด หรือถอดหรือเพิ่มเฟอร์นิเจอร์ ให้ขอเลยเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง

    เจ้าของบ้านและผู้บริหารส่วนกลางของสถานที่ต้องมีการอนุมัติให้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้ แม้ว่าอาคารชุดอาจประกาศว่าเป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยง แต่เจ้าของสถานที่ที่คุณต้องการเช่าจะต้องยินยอม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อตกลงเรื่องสัตว์เลี้ยงต่างๆ รวมอยู่ในสัญญาเช่าด้วย

    ขั้นตอนที่ 3: การจองและลงนามในเอกสาร

    อาจมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจองค่าเช่าสูงสุดหนึ่งเดือนเพื่อใช้ยืนยันความต้องการของคุณในการดำเนินการต่อและเพื่อทำประกันสัญญาเช่า เงินเหล่านี้อาจนำไปใช้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนสุดท้ายที่คุณย้ายออกในภายหลัง

    และในขั้นตอนต่อไป ตัวแทนหรือเจ้าของบ้านจะทำการร่างสัญญาเช่า รวมถึงรายการสิ่งอำนวยความสะดวกและรูปถ่ายสถานที่ เจ้าของบ้านควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่พักสะอาด มีการขอซ่อมแซมหรือร้องขอใดๆ หรือไม่ และพร้อมที่จะย้ายเข้าอยู่ในช่วงไหน

    เอกสารจะจัดเตรียมไว้ให้คุณและเจ้าของบ้านตรวจสอบ เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศไทยไม่มี 'พระราชบัญญัติข้อตกลงการเช่า' หรืออื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น การอ่านข้อตกลงการเช่าอย่างละเอียดถี่ถ้วนจึงเป็นสิ่งจำเป็น หากเป็นภาษาไทยคุณสามารถขอรับเป็นเอกสารฉบับคำแปลได้ และเมื่อทุกฝ่ายพอใจ จะมีการตกลง 'วันลงนาม'

    ขั้นตอนที่ 4: การลงนามในสัญญาเช่าและการย้ายเข้าอยู่

    โดยปกติทุกฝ่ายจะมีการนัดพบกันเพื่อลงนามในสัญญาเช่า มักต้องมีการวางเงินประกันเท่ากับค่าเช่าหนึ่งเดือนถึงสูงสุดสองเดือน ในวันที่ลงนามสัญญาเช่า โดยเงินประกันนี้จะคืนให้เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าและเมื่อย้ายออก และใช้หักค่าความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น ชำระค่าเช่าเมื่อถึงกำหนดงวดการเช่าแต่ละเดือน และโดยทั่วไปจะสามารถชำระได้โดยการโอนเงินผ่านธนาคาร

    ขั้นตอนที่ 5: การเช่าและการสละสิทธิ์

    ควรรายงานปัญหาเกี่ยวกับการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมต่อเอเจนท์ หรือเจ้าของบ้านในระหว่างการเช่าของคุณตามข้อกำหนด สำหรับอาคารคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ การซ่อมแซมเล็กน้อยอาจดำเนินการได้อย่างรวดเร็วโดยทีมซ่อมบำรุงนอกสถานที่ของสำนักงานนิติบุคคล

    หากคุณไม่ต้องการต่อสัญญาเช่า คุณจะต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งเดือน คู่สัญญาการเช่ามักจะพบปะกัน ตรวจสอบรายการสิ่งอำนวยความสะดวก และทำข้อตกลงเกี่ยวกับความเสียหายหรือพื้นที่ที่อาจถูกหักเงิน ทั้งนี้ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสถานที่พักอาศัยได้รับการทำความสะอาดอย่างทั่วถึงก่อนการพบปะและส่งมอบคืนทรัพย์สินทั้งหมด เช่น บัตรผ่านประตูและกุญแจ

    เจ้าของบ้านจะต้องคืนเงินประกันหลังจากหักลบค่าความเสียหายนอกเหนือจากการสึกหรอทั่วไปภายใน 30 วันหลังจากย้ายออก

    ข้อควรพิจารณาอื่นๆ

    ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ตและค่าสัญญาณโทรทัศน์มักสามารถจ่ายได้โดยตรงกับผู้ให้บริการ คอนโด/อาคารอพาร์ตเมนต์บางแห่งอาจกำหนดให้ต้องชำระค่าธรรมเนียมที่สำนักงานบริหารจัดการส่วนกลาง โดยอัตราอาจสูงกว่าอัตราของรัฐเล็กน้อย

    สำหรับการล้างเครื่องปรับอากาศ โดยปกติแล้วผู้เช่าจำเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และอาจต้องทำความสะอาดทุกๆ 6 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ

    การเช่าอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ เป็นหัวข้อที่ค่อนข้างกว้าง และบทความนี้เป็นการรวบรวมเพียงความรู้พื้นฐานเท่านั้น หากคุณสนใจ เอเจนท์ของเราพร้อมที่จะช่วยเหลือคุณในทุกขั้นตอนให้การย้ายเข้าสู่บ้านใหม่ของคุณเป็นไปอย่างสะดวกสบาย

    ประเทศไทย บทความ กรุงเทพ ขั้นตอนการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ